CPR-AED-เทศบาล-มหาสารคาม

เทศบาลเมืองมหาสารคาม เล็งนำเครื่อง AED  ติดตั้งในสถานที่สาธารณะและกลางชุมชน

เทศบาลเมืองมหาสารคาม เล็งนำเครื่อง AED  ติดตั้งในสถานที่สาธารณะและศูนย์กลางชุมชน ล่าสุดติวเข้ม อสม. เรียนรู้ทักษะช่วยผู้หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ก่อนได้ใช้งานจริง


ที่ศาลาการเปรียญ วัดนาควิชัย อ.เมือง จ.มหาสารคาม นายแพทย์กิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาบุคลากรในการให้บริการชุมชนด้านสุขภาพ ปี 2561 เพื่อพัฒนาให้บุคลากรในรูปแบบอาสาสมัคร มีศักยภาพในการปฏิบัติงานในชุมชน และให้ อสม.มีความรู้ความสามารถ ทันต่อสถานการณ์ด้านสุขภาพ สามารถให้ข่าวสารด้านสุขภาพแก่ประชาชนได้ถูกต้อง และสามารถช่วยฟื้นคืนชีพแก่ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ โดยมีทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลมหาสารคาม ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการช่วยผู้หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น (cardiopulmonary resuscitation) และการใช้เครื่อง AED  หรือ 
เครื่องช็อกหัวใจไฟฟ้า 
CPR-AED-เทศบาล-มหาสารคาม

นายแพทย์กิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม กล่าวว่า การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน หรือการทำ CPR  คือ การช่วยชีวิตคนที่หัวใจหยุดเต้น หรือ ผู้ที่หยุดหายใจอย่างกะทันหัน เพื่อทำให้หัวใจที่หยุดเต้นสามารถกลับมาเต้นใหม่ได้เลือดไปเลี้ยงสมองได้  มีการหายใจและการไหลเวียนกลับคืนสู่สภาพเดิม หากอาสาสมัครสาธารณสุขสามารถทำ CPR ได้ และรู้วิธีการใช้งานเครือง AED ก็จะช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของพี่น้องประชาชนต่อกรณีฉุกเฉินนี้ได้เพิ่มมากขึ้น หรือ สามารถเตรียมความพร้อมต่อการกู้ชีพกรณีพบเห็นคนที่หัวใจหยุดเต้น หรือ ผู้ที่หยุดหายใจอย่างกะทันหันเบื้องต้น ก่อนทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะมาถึง ซึ่งในอนาคตเทศบาลเมืองมหาสารคามจะได้นำเครื่อง AED มาประจำตามจุดต่าง ๆ เช่น สถานที่สาธารณะ ศูนย์กลางชุมชน หรือโรงเรียน เป็นต้น โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างพิจารณางบประมาณการจัดซื้อ 
CPR-AED-เทศบาล-มหาสารคาม
ด้านนายแพทย์สุนทร ยนต์ตระกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม กล่าวว่า ตามหลักแล้วหากสมองคนเราถ้าขาดออกซิเจนไป เลี้ยงเกินกว่า 4 นาที จะมีผลทำให้เกิดการสูญเสียของเซลล์สมองบางส่วนไปได้อย่างถาวร แม้หัวใจจะสามารถกลับมา เต้นใหม่ได้ในภายหลัง แต่สมองส่วนที่เสียไปแล้วจะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถฟื้นคืนสติกลับมาได้สมบูรณ์ ดังเดิมอีก ดังนั้นการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน จึงถือเป็นหนึ่งวิธีการที่จะยื้อชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุด เต้นกะทันหันได้เป็นอย่างดี โดยอาการนี้อาจจะพบได้ทั้งในผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคหัวใจมาก่อน หรือผู้ป่วย ที่มีปัญหาโรคหัวใจแบบเฉียบพลัน หรือผู้ที่ขาดออกซิเจนเป็นเวลานานๆ หากเราสามารถรู้ถึงวิธีการปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง ถูกวิธีก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยรอด ชีวิต ลดการบาดเจ็บได้อีก และการช่วยฟื้นคืนชีพจะได้ผลดี ต้องทำควบคู่กับการใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจ ด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ หรือ AED ก็จะเพิ่มโอกาสรอดได้