วิจัย-เกษตรอินทรีย์-กรมวิชาการเกษตร-วังขนาย-มหาสารคาม

กรมวิชาการเกษตร จับมือวังขนาย โชว์ผลงานส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ตีตลาดโลก

กรมวิชาการเกษตร จับมือกลุ่มวังขนาย โชว์ผลงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยีด้านการผลิตพืชอินทรีย์ มุ่งเป้าเพิ่มผลผลิตหวังตีตลาดโลก สร้างรายได้แก่เกษตรกรอย่างยั่งยืน

ที่โรงงานน้ำตาลวังขนาย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ กลุ่มวังขนายเปิดบ้านงานวิจัยกรมวิชาการเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพิ่มช่องทางการจำหน่ายและเชื่อมโยงตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ โดยมีเกษตรกรจากกลุ่มจังหวัดภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก โดยภายในงานมีการโชว์ผลงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยีด้านการผลิตพืชอินทรีย์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง การแสดงนิทรรศการและของดีของเด็ดจากหน่วยงานต่าง ๆ อย่างตับคั่ง

วิจัย-เกษตรอินทรีย์-กรมวิชาการเกษตร-วังขนาย-มหาสารคาม

นายวราวุธ ชูธรรมธัช รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ กลุ่มวังขนายเปิดบ้านงานวิจัยกรมวิชาการเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2561 .ในครั้งนี้เพื่อ เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยีด้านการผลิตพืชอินทรีย์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง เพื่อเปิดเวทีให้กลุ่มเป้าหมายได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค รวมทั้งรณรงค์ให้ผู้บริโภครู้จักและเลือกบริโภคสินค้าที่ผ่านการรับรองเกษตรอินทรีย์ เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายและเชื่อมโยงตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตพืชอินทรีย์ที่เป็นสินค้าเด่นของกลุ่มจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยยึดพื้นที่บูรณาการตลาดนำการผลิต และดำเนินงานขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์กลุ่มจังหวัดภาค ะวันออกเฉียงเหนือภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ทั้งสิ้น 105.5 ล้านไร่

วิจัย-เกษตรอินทรีย์-กรมวิชาการเกษตร-วังขนาย-มหาสารคาม

ด้านนายวัชรา ณ วังขนาย รองประธานกรรมการ กลุ่มวังขนาย เปิดเผยว่า “กลุ่มวังขนายได้จัดทำโครงการปลูกอ้อยอินทรีย์ เป็นเวลานานกว่า 10 ปี และผลิตน้ำตาลออร์แกนิกจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ โดยได้จำหน่ายครั้งแรกในปี 2554 โดยผ่านการรับรองมาตรฐานของประชาคมเศรษฐกิจยุโรป 483/2007), มาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกามาตรฐานประเทศญี่ปุ่นมาตรฐานประเทศเกาหลีและมาตรฐานประเทศแคนนาดา ในปี 2560/2561 ปัจจุบันอ้อยอินทรีย์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานมีจำนวน 144,852 ตัน สามารถผลิตเป็นน้ำตาลออร์แกนิกได้ 12,520 ตัน โดยมีเกษตรร่วมโครงการจำนวน 1,180 ราย ทั้งนี้ได้มีการจำหน่ายในประเทศประมาณ 75% และอีก 25% จำหน่ายในประเทศแถบเอเชียและยุโรป ซึ่งได้แก่เกาหลีใต้ ฮ่องกง มาเลเซีย สิงค์โปร์ ฝรั่งเศส เนเธอแลนด์ เยอรมัน โอเชียเนีย และนิวซีแลนด์ โดยกลุ่มวังขนายตั้งเป้าภายใน 5 ปีนี้จะเพิ่มปริมาณอ้อยอินทรีย์ให้ได้ถึงร้อยละ 30 ของปริมาณอ้อยทั้งหมดของกลุ่มวังขนาย เพื่อนำไปผลิตเป็นน้ำตาลออร์แกนิกส่งจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ

วิจัย-เกษตรอินทรีย์-กรมวิชาการเกษตร-วังขนาย-มหาสารคาม

ทั้งนี้ทางกลุ่มวังขนายมีความพร้อมในการพัฒนาผลิตอ้อยอินทรีย์ และอ้อยสะอาดปลอดภัย เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลติดตามและตรวจประเมินแปลงเบื้องต้นด้วยใช้ระบบควบคุมภายใน(ICS: Internal Control System) ก่อนที่จะตัดอ้อยอินทรีย์เข้าหีบเพื่อผลิตเป็นน้ำตาลออร์แกนิกโดยรณรงค์ให้ตัดอ้อยสดไม่เผาอ้อยปลูกอ้อยตามระบบ GAP การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับอ้อยโรงงาน นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนปัจจัยการผลิต เช่น ฟิลเตอร์เค้ก และสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ โดยในกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับรองมาตรฐานอ้อยอินทรีย์ กลุ่มวังขนายจะเพิ่มค่าอ้อยให้ 100 บาทต่อตัน และกลุ่มเกษตรกรที่อยู่ในระยะปรับเปลี่ยนจะเพิ่มค่าอ้อยให้ 50 บาทต่อตัน และในปัจจุบันยังมีการเก็บตัวอย่างดินจากแปลงอ้อยของเกษตรกรชาวไร่อ้อยมากกว่า 20,000 ตัวอย่าง เพื่อส่งให้ทางกรมวิชาการเกษตรได้แนะนำการใช้ปุ๋ยตามผลวิเคราะห์ตัวอย่างดิน เพื่อเป็นการใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่าย

วิจัย-เกษตรอินทรีย์-กรมวิชาการเกษตร-วังขนาย-มหาสารคาม วิจัย-เกษตรอินทรีย์-กรมวิชาการเกษตร-วังขนาย-มหาสารคาม