กินเจ-ราคา-ผัก-มหาสารคาม-ตลาด

เทศกาลกินเจ ผักและเห็ดตลาดเทศบาลเมืองถีบราคาสูงขึ้น เหตุต้นทุนการขนส่งเพิ่ม  

พ่อค้าแม่ค้าในตลาดสดรับผักและเห็ดเริ่มปรับตัวสูง รับช่วงเทศกาลกินเจที่กำลังจะมาถึงเพราะต้นทุนการขนส่งเพิ่มขึ้น ด้านแพทย์แนะประชาชนกินเจปลอดภัยและสุขภาพ ด้วยการล้างผักลดสารตกค้างก่อนนำมาประกอบอาหาร

ที่ตลาดสดเทศบาลเมืองมหาสารคาม จากการสำรวจราคาพืชผักใบเขียว และเห็ดชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ในช่วงเทศกาลกินเจ พบว่ามีการปรับขึ้นราคาเล็กน้อย แต่ที่ราคาสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดคือสินค้าจำพวกเห็ดชนิดต่าง ๆ ที่ปรับราคาขึ้นสูง ซึ่งสาเหตุมาจากค่าขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นและเป็นไปตามกลไกตลาด
กินเจ-ราคา-ผัก-มหาสารคาม-ตลาด กินเจ-ราคา-ผัก-มหาสารคาม-ตลาด
นางแพร  พลวงษ์ศรี แม่ค้าขายผักสดในตลาดสดเทศบาลเมืองมหาสารคาม กล่าวว่า พืชผักปีนี้มีการปรับขึ้นราคาเล็กน้อย ทำให้ราคาไม่แพงเท่าปีนี้ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นไปตามกลไกตลาด อาทิ  ผักกาดขาว จากเดิมโลละ 25 บาท ปรับขึ้นเป็น 40 บาท ถั่วฝักยากจากเดิมโลละ 20 บาท ปรับขึ้นเป็น 25 – 30 บาท ส่วนข้าวโพดอ่อน กวางตุ้ง คะน้าและผักบุ้ง ยังคงราคาเดิม ซึ่งราคาถือได้ว่าไม่ได้แพงขึ้นมากกว่าปีก่อน เพราะปีนี้ไม่ค่อยมีปัจจัยภัยธรรมชาติมารบกวนมากนัก มีเพียงค่าขนส่งที่แพงขึ้น เพราะส่วนใหญ่ผักที่นำมาขาย ผลผลิตมาจากพื้นที่ในภาคกลาง มีบ้างส่วนที่ปลูกในภาคอีสาน
กินเจ-ราคา-ผัก-มหาสารคาม-ตลาด กินเจ-ราคา-ผัก-มหาสารคาม-ตลาด
นอกจากผักก็จะมีเห็ดชนิดต่าง ๆ ที่ปีนี้ปรับราคาขึ้นมากกว่าผัก อาทิ เห็ดนางฟ้าจากเดิม โลละ 80 บาท ปรับขึ้นเป็น 90 บาท เห็ดฟางจาก 80 บาท ปรับขึ้นเป็น 90 – 100 บาท และจะแพงขึ้นเมื่อถึงช่วงเทศกาลกินเจ  ซึ่งก็เป็นไปตามกลไกตลาด หากผักชนิดใดมีความต้องการมาก ราคาซื้อขายก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย คาดว่าราคาผักอาจจะมีการปรับขึ้นราคาขึ้นอีกในช่วงระหว่างเทศกาลกินเจ แม้ปรับราคาเพิ่มขึ้นประชาชนก็ไม่มีผลกระทบซึ่งผู้บริบริโภคก็ต้องซื้อไปประกอบอาหาร
กินเจ-ราคา-ผัก-มหาสารคาม-ตลาด
ด้าน นพ.สุนทร  ยนต์ตระกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม แนะประชาชนกินเจปลอดภัยและสุขภาพดีว่า ในปัจจุบันผักต่างๆ มักจะมีสารพิษตกค้างในผักกันมาก ถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์ให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมีและส่งเสริมให้มีการผลิตอาหารจำพวกผักและผลไม้ที่ปลอดจากสารพิษอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังผู้บริโภคจำนวนมากยังขาดความเอาใจใส่ จึงอยากขอฝากเตือนถึงผู้บริโภคให้คำนึงถึงสุขภาพอนามัยที่ดี ซึ่งเกิดจากการได้บริโภคพืชผักปลอดสารพิษเนื่องจากปัจจุบันผักมักจะมีสารตกค้างเจือปนอยู่ โดยก่อนปรุงควรล้างผักด้วยน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง หรือแช่ในน้ำส้มสายชู หรือ เบคกิ้งโซดานาน 10 นาที เพื่อล้างสารพิษที่ตกค้างเชื้อโรคและสารเคมีให้หมดไปด้วย