ห้ามเผา อ้อย ขยะ

ห้ามเผา อ้อย ตอซังข้าว ผู้ว่าฯสั่งคุมเข้ม พบฝ่าฝืนเจอโทษหนัก

ห้ามเผา อ้อย ตอซังข้าวในพื้นที่เกษตรกรรม รวมถึงวัสดุอื่น ๆ ทีี่อาจก่อปัญหามลพิษในที่โล่งทุกชนิดในทุกพื้นที่ของจังหวัดมหาสารคาม ผู้ว่าฯ กำชับ จนท.ทุกหน่วยงานแจ้งประชาชนรับทราบทุกช่องทาง หากพบฝ่าฝืนเจอโทษหนัก 

ในช่วงฤดูแล้งของทุกปี เกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามจะทำการเผาหญ้า วัชพืช ตอซังข้าว หลังฤดูเก็บเกี่ยวเพื่อเตรียมการเพาะปลูก และเผาต้นอ้อย ส่งผลทำให้เกิดหมอกควันและมลพิษในอากาศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนทั่วไปเป็นวงกว้าง ประกอบกับสถานการณ์ปัจจุบันในหลายพื้นที่ ได้รับผลกระทบจากปัญหาหมอกควัน ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อมโดยรวม

ห้ามเผา อ้อย ขยะ

ล่าสุด…นายเกียรติศักดิ์  จันทรา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม  ได้ลงนามในประกาศห้ามเผาวัสดุทางการเกษตรและวัสดุอื่น ๆ ทีี่อาจก่อปัญหามลพิษในที่โล่งทุกชนิด  เพื่อให้คุณภาพทางอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน ป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศเผยแพร่กระจาย และป้องกันอัคคีภัยอันเนื่องมาจากการเผาไหม้ลุกลามเข้าไปในบ้านเรือนราษฎรและชุมชน จึงขอความร่วมมือหน่วยงานและประชาชน งดการเผาหญ้าวัชพืชขยะและวัสดุอื่นๆทุกชนิดในพื้นที่รับผิดชอบ ห้ามเผาในพื้นที่เกษตรกรรม โดยรณรงค์ให้เปลี่ยนวิธีการกำจัดวัชพืชเช่นการไถกลบการทำปุ๋ยหมัก การใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการเร่งการย่อยสลาย หากมีความจำเป็นต้องเผาจะต้องทำแนวกันไฟควบคุมการเผาป้องกันอย่างใกล้ชิด รวมทั้งให้แจ้งขออนุญาตจากกำนันผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่นั้น ห้ามเผาเด็ดขาดในพื้นที่ริมทางเพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนได้ หากประชาชนพบเห็นสามารถแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการระงับเหตุได้ทันที

ห้ามเผา อ้อย ขยะ

มหาสารคามป้องกันปัญหาฝุ่นควันและมลพิษ บังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัด

รวมทั้งให้มีการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดอย่างเคร่งครัด ห้ามเผาเด็ดขาดในพื้นที่ป่าไม้ ผู้ใดฝ่าฝืนจุดไฟเผาป่าหรือเผาในที่โล่งพื้นที่ต่าง ๆ มีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ. ศ. 2535 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ. ศ. 2507 พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ. ศ. 2504 พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ 2535 พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ 2550 พระราชบัญญัติทางหลวง พ. ศ. 2535 พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ. ศ. 2535 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ. ศ.2535  และประมวลกฎหมายอาญารวมทั้งเทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง ที่ได้กำหนดไว้โดยมีกำหนดโทษตามกฎหมายดังกล่าว

ทั้งนี้ หากพบเห็นไฟไหม้ในที่ โล่งพื้นที่ต่างๆ ขอให้แจ้งติดต่อเบอร์โทรสายด่วนแจ้งเหตุไฟไหม้ดับเพลิง 199 เหตุด่วนเหตุร้าย 191 สายด่วนกรมทางหลวง 1589 และกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดมหาสารคามตลอด 24 ชั่วโมงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงาน บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดต่อผู้ฝ่าฝืนและประชาสัมพันธ์ทุกช่องทางให้ประชาชนรับทราบ

ห้ามเผา อ้อย ขยะ ห้ามเผา อ้อย ขยะ

ติดตามข่าวมหาสารคามเพิ่มเติมได้ที่นี้ Click